วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมของดอกหน้าวัว

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม 




โดยทั่วไปการปลูกเลี้ยงหน้าวัวสามารถปลูกเลี้ยงได้ทุกพื้นที่ทั้งแสง อุณหภูมิ และ ความชื้นมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของหน้าวัว หน้าวัวเป็นไม้ตัดดอกเมืองร้อน ให้ผลผลิตตลอดปี แต่สภาพพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกเลี้ยงดอกหน้าวัวควรเป็นพื้นที่ราบ น้ำไม่ท่วมขังหรืออยู่ในเส้นทางการไหลบ่าของน้ำเวลาฝนตก และเป็นพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก แต่ไม่ควรเป็นพื้นที่ที่มีกระแสลมแรง มีแห่งน้ำที่มีคุณภาพดี สะอาดและเพียงพอใช้ตลอดปี พื้นที่ปลูกควรเดินทางได้สะดวกหรืออยู่ใกล้แหล่งคมนาคมอุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกเลี้ยงเวลากลางวันควรอยู่ในช่วง 20-30 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิกลางวัน-กลางคืนไม่ควรต่างกัน คือ 15 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 70- 90 เปอร์เซ็นต์

การตลาดของดอกหน้าวัว


การตลาด

หน้าวัวเป็นไม้ดอกเมืองร้อนที่มีการค้าขายกันเป็นไม้ตัดดอกแล้ว หน้าวัวยังมีความนิยมใช้เป็นไม้กระถางด้วย ในปัจจุบันมีการปรับปรุงพันธุ์หน้าวัวให้มีสีสันแปลกใหม่ และมีคุณภาพดีเพิ่มมากข้น คาดว่าต่อไปในอนาคตการปลูกเลี้ยงหน้าวัวเป็นการค้าจะมีเพิ่มมากขึ้น แหล่งผลิตหน้าวัวที่สำคัญของโลก ได้แก่ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศมอริเซียส และมลรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าประเทศเหล่านี้มีการปลูกหน้าวัวเป็นการค้ามานานและปัจจุบันแหล่งจำหน่ายหน้าวัวในตลาดโลกที่สำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และยุโรป ซึ่งความต้องการของแต่ละแหล่งหรือแต่ละพื้นที่แตกต่างกันในด้านสีสันของดอก โดยตลาดยโรปและอเมริกาส่วนมากชอบสีแดงรองลงมาเป็นสีชมพู ขณะที่ตลาดภายในประเทศนิยมสีชมพู ส้ม เขียว และแดง


สำหรับประเทศไทยนั้นเดิมนิยมใช้ดอกหน้าวัวในการประดับตกแต่งในพิธีศพ เนื่องจากหน้าวัวมีอายุการใช้งานนานกว่าดอกไม้ชนิดอื่น แต่ปัจจุบันได้นิยมนำดอกหน้าวัวมาใช้ในงานพิธีการงานมงคลมากมาย เนื่องจากจานรองดอกหน้าวัวมีรูปร่างคล้ายหัวใจ และมีสีสันสดใส ปัจจุบัน ดอกหน้าวัวซึ่งมีการผลิตในภูมิภาคต่างๆของประเทศไทย ร้อยละ 98 เปอร์เซ็นต์ ถูกจำหน่ายในประเทศ โดยส่วนหนึ่งจะจำหน่ายผ่านปากคลองตลาด ส่วนที่เหลืออีกจำนวนมากผู้ผลิตหน้าวัวจะทำตลาดเองโดยการขายดอกหน้าวัวจากตลาดจีนยังทำให้สามารถขยายกำลังการผลิตได้อีกมากส่วนราคาที่เกษตรกรได้รับขึ้นอยู่กับขนาดและคุณภาพของดอกโดยทั่วไปจะเป็นเกรด A และ B ราคาประมาณ 9-14 บาท ถ้าเป็นราคาส่งออกต่างประเทศส่วนใหญ่ราคาจะสูง ราคา ที่ 18-25 บาท

ความนิยมนิยมดอกหน้าวัว


ความนิยม


สหรัฐอเมริกา นิยมใช้หน้าวัวพันธุ์สีแดงและสีแดงอ่อนมาก โดยคิดเป็น 80% ส่วนอีก 20% เป็นสีชมพู และสีขาว
ในทางฝรั่งเศสและสวิสเซอร์แลนด์ นิยมสีแดงและสีส้ม

วิธีปลูกดอกหน้าวัว


วิธีปลูก

1 ใช้กระถางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 - 12 นิ้ว ขึ้นอยู่กับขนาดต้นที่นำมา









2 ควรปลูกในกระถาง โดยรองอิฐที่รูระบายน้ำก้นกระถางแล้วใส่เครื่องปลูกประมาณ 1/5 ของความสูงกระถาง แล้วนำต้นหน้าวัววางบนเครื่องปลูก จากนั้นจึงเติมเครึ่องปลูกรอบ ๆ โคนต้น ยึดลำต้นให้แน่นอย่าให้ต้นคลอนแคลน และอย่าใส่เครื่องปลูกจนกระทั่งทับยอดหน้าวัว เพราะจะทำให้ยอดเน่า








3 หน้าวัวเป็นพืชที่ไม่ชอบแดดจัด และลมโกรก







4 หน้าวัวต้องการความชื้นสูง ต้องการแสง 20- 30% หรือร่มประมาณ 70 - 80%





5 ควรรดน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งแต่ถ้าวันไหนร้อนจัดควรรดเพิ่มเป็น 3 ครั้งต่อวัน








6 ในวันที่อากาศร้อนจัดมาก ๆ ควรทำการพรางแสง มิฉะนั้นใบและต้นหน้าวัวจะไหม้และชะงักการเจริญเติบโต









7 เมื่อต้นเจริญเติบโต ใบล่างจะร่วงหล่นไป ลำต้นจะสูงพ้นเครื่องปลูกส่วนรากจะเกิดออกจากลำต้นใต้ใบเสมอ ทำให้รากเจริญเหนือเครื่องปลูกขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นจึงควรเติมเครื่องปลูกให้เครื่องปลูกอยู่ต่ำกว่ายอดเล็กน้อยเสมอ


\






การให้ปุ๋ย
- ควรให้ปุ๋ยสุตรเสมอ 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 1 ช้อนชา/ต้น/เดือน
- ปุ๋ยละลายช้าสูตรเสมอ 3- 6 เดือน











วิธีการขยายพันธุ์ดอกหน้าวัว

วิธีการขยายพันธุ์ 

1. การขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเมล็ด สามารถทำได้โดยคัดเลือกลูกผสม ระยะเวลาที่ทำการถ่ายละอองเกสรจนติดเมล็ดใช้เวลา 6-7 เดือน แล้วแต่สายพันธุ์ ระยะเวลาในการเพาะเมล็ด ประมาณ 1-2 อาทิตย์ รอจนต้นที่ได้ สูง 6-8 เซนติเมตร ซึ่งใช้ระยะเวลา 1 ปี จึงย้ายลงในกระถาง หลังจากนั้นเลี้ยงต้นอีก 1 ปี จึงจะออกดอกแรก วิธีนี้จะใช้เฉพาะในการปรับปรุงพันธุ์เท่านั้น

2. การตัดชำยอด จะทำเมื่อต้นสูงประมาณ 60 เซนติเมตร โดยตัดยอดให้มีใบติดอยู่ 3-5 ใบและมีราก 2-3 ราก

3. การตัดหน่อ นิยมทำหลังจากตัดยอดแล้วต้นตอที่ถูกตัดยอดให้มีหน่อใหม่เกิดขึ้นมาสามารถตัดหน่อไปปลูกใหม่ได้

4. การแยกหน่อ สามารถทำได้เพียงบางพันธุ์กับพันธุ์ที่มีหน่อมากเท่านั้น

5. การปักชำต้นตอ สามารถทำได้โดยตัดชำลำต้นใต้ดินที่ยาวหรือต้นที่เหลือจากการตัดชำยอดออกเป็นท่อนๆ (แต่ไม่ใช่ว่าทุกพันธุ์จะมีลำต้นยาวเสมอไป)

6.การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นวิธีกที่เหมาะสมที่สุดซึ่งจะสามารถผลิตต้นหน้าวัวได้ในปริมาณที่มาก และรวดเร็วนิยมใช้กับพันธุ์ที่ผลิตเป็นการค้า


ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของดอกหน้าวัว


ลักษณะทางพฤษศาสตร์


หน้าวัวมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Anthurium andraeanum เป็นพืชในสกุล Anthurium วงศ์ Araceae มีถิ่นกำเนิดมาจากเขตร้อนของทวีปอเมริกาเหนือและใต้ ความสวยงามของทั้งใบ และดอกทำให้มีพืชชนิดต่างๆ ในสกุลหน้าวัวถูกนำมาใช้ประโยชน์ในทางพืชสวน ทั้งในรูปไม้ตัดดอก ไม้ตัดใบ และไม้กระถาง หน้าวัวมีดอกสมบูรณ์เพศ คือ มีเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน

ดอก เป็นรูปสี่เหลี่ยวข้าวหลามตัดเรียงตัวกันแน่นบนช่อดอกที่เรียกว่า ปลี (Spadix) ซึ่งมีหลากสีเช่น สีส้ม สีแดง สีเขียว สีชมพู สีม่วง สีขาว หรือมีหลายสีรวมกันในจานรองดอกเดียวกัน ปกติจานรองดอกมีอายุการใช้งาน 15 วันขึ่นไป ดอกหน้าวัวจะบานหลังจากจานรองดอกคลี่ประมาณ 3-4 วัน ดอกจะบานจากโคนปลีสู่ปลายปี และเกสรตัวเมียพร้อมผสมก่อน เกสรตัวผู้ของดอกเดียวกัน โดยเกสรตัวเมียจะโผ่ลขึ้นจากดอก เห็นเป็นตุ่มขรุขระ ยอดเกสรตัวเมียเหล่านี้พร้อมได้รับการถ่ายละองเกสรในช่วง 8.00-10.30 น. ของวันที่มีอากาศเย็นซึ่งจะสังเกตเห็นว่ายอดเกสรตัวเมียมีลักษณะเป็นเมือกเหนียวเป็นมัน หากสภาพแวล้อมเหมาะสม ส่วนเกสรตัวผู้มีลักษณะเป็นผงสีขาวคล้ายผงแป้ง ซึ่งจะสังเกตเห็นเวลา 8.00-10.30 น. ของวันที่มีอากาศเย็นเช่นกัน การถ่ายละอองเกสรสามารถทำได้โดยใช้พู่กันแตะเกสรตัวผู้แล้วนำไปสัมผัสกับเกสรตัวเมียและควรทำวันเว้นวันตั้งแต่โคนปลีจนสุดปลายปลี

ลักษณะของลำต้นดอกหน้าวัว


ลักษณะของลำต้นหน้าวัว

เป็นพืชอายุหลายปีที่ไม่มีเนื้อไม้ เป็นพืชเขตร้อนลำต้นตรงหรือเลี้อย ลำต้นอาจเจริญโดยมียอดเดียวหรือแตกกอได้ เมื่อยอดสูงจะพบรากบริเวณลำต้น รากเหล่านี้จะเจริญลงหาอาหารในเครื่องปลูกเมื่อสภาพอากาศภายในโรงเรือนชื้น ระบบรากของหน้าวัวเป็นรากอากาศสามารถดูดน้ำ และความชื้นจากอากาศภายในโรงเรือน ดังนั้นการเลือกวัสดุปลูกควรเป็นวัสดุปลูกที่โปร่งมีระบายอากาศที่ดี ใบหน้าวัวเป็นใบเดี่ยว มีรูปร่างแตกต่างกันออกไป เช่น ใบพาย ใบกลม ใบแบบข้าวหลามตัด ผิวใบเป็นมัน การเรียงตัวของใบจะเรียงเป็นเกลียวรอบต้น พวกที่มีใบกว้างเส้นใบจะเรียงตัวคล้ายร่างแห ขณะที่พวกใบแคบเส้นใบจะเรียงตัวคล้ายเส้นขนานแต่ทั้งนี้เส้นใบมักจะนูนขึ้นอย่างชัดเจน
ดอกหน้าวัวเกิดจากตาเหนือก้านใบประกอบด้วยปลี (ช่อดอก) และจานรองดอก ซึ่งมีลักษณะคล้ายใบติดอยู่ที่โคนปลี แต่มีสีสันสวยงามสะดุดตา จึงทำให้คิดว่าจานรองดอกคือดอกหน้าวัว ลักษณะของจาน รองดอกมักมีส่วนยาวมากกว่าส่วนกว้างและจานรองดอกจะมีขนาดเล็กใหญ่ขึ้นกับขนาดของต้น ชนิดของพันธุ์และการเลี้ยงดู นอกจากความสวยงามของจานรองดอกด้วย ซึ่งเรียกว่า ร่องน้ำตาในเมืองไทย มักนิยมร่องน้ำตาลึก ๆ เช่น พันธุ์ดวงสมร แต่ในต่างประเทศมักต้องการจานรองดอกที่ค่อนข้างเรียบ จานรองดอกที่ดีควรมีลักษณะเป็นรูปหัวใจและได้สัดส่วนกันจากโคนมาถึงปลาย ด้านซ้ายและขวา จะต้อง เท่ากันโดยไม่มีรอยแหว่งเว้าของด้านใดด้านหนึ่ง ความหนาของจานรองดอกไม่บางเกินไป ในเมืองไทยนิยมให้โคนของจานรองดอกตั้ง หรือที่เรียกว่า หูแนบแต่ในต่างประเทศไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญ
ส่วนช่อของดอกหน้าวัวหรือที่เรียกว่า ปลี คือ ส่วนที่เป็นดอกจริง ซึ่งประกอบด้วย ก้านช่อ ซึ่งมีดอกย่อยเล็กเรียงอัดแน่นอยู่บนปลี  ดอกย่อยนี้เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย อยู่ในดอกเดียวกัน ดอกที่อยู่บนก้านดอกนี้จะมีสีต่าง ๆ เมื่อจานรองดอกคลี่ปลีออกจะมีสีเหลืองอ่อน หรือสีปนแดง แล้วแต่ชนิพันธุ์ เมื่อจานรองดอกบานเต็มที่ ดอกที่อยู่โคนปลีจะเปลี่ยนเป็นสีขาว ไล่ไปปลายปลี ลักษณะเช่นนี้ แสดงว่า ดอกบาน และเมื่อตุ่มยอดเกสรตัวเมียเริ่มมีน้ำเหนียว ๆ แสดงว่าดอกนั้นพร้อมที่จะผสมเกสรตัวผู้จะบานภายหลังเกสรตัวเมีย ดังนั้นดอกหน้าวัวส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยมีโอกาสผสมตัวเอง ยกเว้นบางพันธุ์เท่านั้น นอกจาก นี้เกสรตัวผู้ของดอกหน้าวัวลูกผสมส่วนใหญ่ จะมีเกสรตัวผู้ฟุ้งเมื่ออุณหภูมิเย็น ดังนั้นโอกาสที่ผสมพันธุ์ในกรุงเทพฯ จึงมีช่วงระยะเวลาจำกัด ซึ่งโดยมากมักจะผสมในช่วงฤดูหนาว
ารขยายพันธุ์ดอกหน้าวัว :