วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของดอกหน้าวัว


ลักษณะทางพฤษศาสตร์


หน้าวัวมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Anthurium andraeanum เป็นพืชในสกุล Anthurium วงศ์ Araceae มีถิ่นกำเนิดมาจากเขตร้อนของทวีปอเมริกาเหนือและใต้ ความสวยงามของทั้งใบ และดอกทำให้มีพืชชนิดต่างๆ ในสกุลหน้าวัวถูกนำมาใช้ประโยชน์ในทางพืชสวน ทั้งในรูปไม้ตัดดอก ไม้ตัดใบ และไม้กระถาง หน้าวัวมีดอกสมบูรณ์เพศ คือ มีเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน

ดอก เป็นรูปสี่เหลี่ยวข้าวหลามตัดเรียงตัวกันแน่นบนช่อดอกที่เรียกว่า ปลี (Spadix) ซึ่งมีหลากสีเช่น สีส้ม สีแดง สีเขียว สีชมพู สีม่วง สีขาว หรือมีหลายสีรวมกันในจานรองดอกเดียวกัน ปกติจานรองดอกมีอายุการใช้งาน 15 วันขึ่นไป ดอกหน้าวัวจะบานหลังจากจานรองดอกคลี่ประมาณ 3-4 วัน ดอกจะบานจากโคนปลีสู่ปลายปี และเกสรตัวเมียพร้อมผสมก่อน เกสรตัวผู้ของดอกเดียวกัน โดยเกสรตัวเมียจะโผ่ลขึ้นจากดอก เห็นเป็นตุ่มขรุขระ ยอดเกสรตัวเมียเหล่านี้พร้อมได้รับการถ่ายละองเกสรในช่วง 8.00-10.30 น. ของวันที่มีอากาศเย็นซึ่งจะสังเกตเห็นว่ายอดเกสรตัวเมียมีลักษณะเป็นเมือกเหนียวเป็นมัน หากสภาพแวล้อมเหมาะสม ส่วนเกสรตัวผู้มีลักษณะเป็นผงสีขาวคล้ายผงแป้ง ซึ่งจะสังเกตเห็นเวลา 8.00-10.30 น. ของวันที่มีอากาศเย็นเช่นกัน การถ่ายละอองเกสรสามารถทำได้โดยใช้พู่กันแตะเกสรตัวผู้แล้วนำไปสัมผัสกับเกสรตัวเมียและควรทำวันเว้นวันตั้งแต่โคนปลีจนสุดปลายปลี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น